แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การนั่งสมาธิ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การนั่งสมาธิ แสดงบทความทั้งหมด

มาสร้างบุญบารมีกันเถอะ

มาสร้างบุญบารมีกันเถอะ

     สวัสดีครับวันนี้จะมาเเนะนำการสร้างบุญกัน เวลาส่วนใหญ่ของเราอยู่กับอะไร งาน facebook เเชท หรือทำงานต่างๆ ดูทีวี หรอ ?
เราเเบ่งเวลามานั่งสมาธิกันดีกว่าครับ 

นั่งสมาธิอย่างน้อยวันละ 15 นาที (หรือเดินจงกรมก็ได้)

ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ

  • อานิสงส์ เพื่อสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดขึ้นทั้งภพนี้และภพหน้า
  • เพื่อจิตใจที่สว่างผ่อนปรนจากกิเลส ปล่อยวางได้ง่าย
  • จิตจะรู้วิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยอัตโนมัติ
  • ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่มีวันอับจน
  • ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายและจิตแข็งเเรง
  • เจ้ากรรมนายเวรและญาติมิตรที่ล่วงลับจะได้บุญกุศล

วิธีทำสมาธิแบบง่ายๆ

     ทำสมาธิเพื่อให้จิตสงบ มีพลัง มีประโยชน์ ในปัจจุบันคือทำใจให้สบาย คลายทุกข์ หนักแน่น มั่นคง อารมณ์แจ่มใส ความจำดีทั้งทำงานมีประสิทธิภาพ สุขภาพดี นอนหลับสบาย เรียนหนังสือเก่ง ที่สำคัญคือ ได้บุญ

     วิธีนั่ง ให้นั่งขัดสมาธิ คือ ขาขวาทับขาซ้าย นั่งตัวตรงหลับตาเอาสติมาจับอยู่ที่สะดือที่ท้องพอง ยุบ เวลาหายใจเข้าท้องพอง กำหนดว่า พอง หนอ ใจนึกกับท้องที่พอง ต้องให้ทันกันอย่าให้ก่อนหรือหลังกัน  หายใจออกท้องยุบ กำหนดว่ายุบ หนอ ใจนึกกับท้องที่ยุบต้องทันกันอย่าให้ก่อนหรือหลังกัน
ข้อสำคัญ ให้สติจับอยู่ที่ พอง ยุบ เท่านั้น อย่าดูลมที่จมูกอย่าตะเบ็งท้อง ให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่าท้องพองไปข้างหน้า ท้องยุบลงข้างล่างให้กำหนดเช่นนี้ตลอดไป จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด

     เมื่อมีเวทนา เวทนาเป็นเรื่องสำคัญที่สุดจะต้องบังเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติเเน่นอน จะต้องมีความอดทน เพื่อเป็นการสร้างขันติบารมีไปด้วย ถ้าผู้ปฏิบัติขาดความอดทนเสียเเล้ว การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นก็ล้มเหลว
     ในขณะที่นั่งหรือเดินจงกรมอยู่นั้นถ้ามีเวทนา ความเจ็บ ปวด เมื่อย คัน เกิดขึ้น ให้หยุดเดินหรือหยุดกำหนดพองยุบ ให้เอาสติไปตั้งไว้ที่เวทนาที่เกิด และกำหนดไปตามความจริงว่าปวดหนอๆๆ เจ็บหนอๆๆ เมื่อยหนอๆๆ คันหนอๆๆ เป็นต้น ให้กำหนดไปเรื่อยๆ จนกว่าเวทนาจะหายไปเมื่อเวทนาหายไปเเล้ว ก็กำหนดนั่งหรือเดินต่อไป

     จิต เวลานั่งอยู่หรือเดินอยู่ ถ้าจิตคิดถึงบ้าน คิดถึงทรัพย์สิน หรือคิดฟุ้งซ่านต่างๆ นานา ก็ให้เอาสติปักลงที่ลิ้นปี่ พร้อมกำหนดว่า คิดหนอๆๆๆๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจิตจะหยุดคิดแม้ดีใจ เสียใจ หรือโกรธ ก็กำหนดเช่นเดียวกันว่า ดีใจหนอๆๆ เสียใจหนอๆๆ โกรธหนอๆๆ เป็นต้น

     เวลานอน เวลานอนค่อยๆ เอนตัวนอนพร้อมกับกำหนดตามไปว่า นอนหนอๆๆๆ จนกว่าจะนอนเรียบร้อย ขณะนั้นให้เอาสติจับอยู่อาการเคลื่อนไหว ของร่างกายเมื่อนอนหลับเรียบร้อยเเล้วให้เอาสติมาจับที่ท้องเเล้วกำหนดว่า พองหนอ ยุบหนอ ต่อไปเรื่อยๆ ให้คอยสังเกตให้ดีว่าจะหลับไปตอนพอง หรือตอนยุบ

     อิริยาบถต่างๆ การเดินไปในที่ต่างๆ การเข้าห้องน้ำ การเข้าห้องส้วม การรับประทานอาหาร และการกระทำกิจกรรมงานทั้งปวง ผู้ปฎิบัติต้องมีสติกำหนดอยู่ทุกขณะ ในอาการเหล่านี้ตามความเป็นจริง คือ มีสติสัมปชัญญะเป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา